1 พ.ย. 2557

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนตั้งท้องเพื่อสุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกที่ดีที่สุด  ถ้าในตอนนี้คุณยังไม่ตั้งครรภ์ การเตรียมตัวที่สำคัญที่สุดคือ ต้องทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข ความสนุก ในการพยายามมีบุตร แต่ถ้าตั้งครรภ์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะการตั้งครรภ์ในรายการคู่มักมาโดยไม่ทันตั้งตัว ให้มุ่งไปที่วิธีการดูแลครรภ์แทน

การเตรียมตัวสำหรับคุณแม่

เป้าหมายหลักการของเตรียมตัวคุณแม่ คือ ให้มั่นใจว่าร่างกายของแม่พร้อมจะดูแลทารกน้อยในครรภ์
·    พบแพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ เพื่อตรวจปัญหาสุขภาพที่อาจต้องแก้ไขหรือรักษาก่อนตั้งครรภ์ หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ศึกษายาที่ควรหลีกเลี่ยงที่มีผลต่อทารกในครรภ์ มีการทำวัคซีนครบอย่างเหมาะสม ดูแลการคุมน้ำหนัก อาหาร และการดื่มแอลกอฮอล์
·   พบทันตแพทย์ให้ดูแลสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง เพราะการตั้งครรภ์มีผลต่อสุขภาพฟัน ฮอร์โมนตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันได้
·       ตรวจสอบประวัติการเป็นโรคซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมของทั้งสองครอบครัว ได้แก่ โรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome), โรคเม็ดเลือดผิดรูป (sickel cell anemia), โรคธาลัสซีเมีย (thalassemia), hemophilia, cystic fibrosis, muscular dystrophy
·   ตรวจยีนโรคพันธุกรรมที่จำเป็น เช่น ธาลัสซีเมีย สำหรับคุณแม่ที่เคยมีปัญหาตั้งท้องยาก เช่น เคยแท้งมากกว่า 2 ครั้ง ลูกตายแรกคลอด ผสมไม่ติดเป็นเวลานาน หรือลูกเกิดมาร่างกายบกพร่อง หรือกรณีเป็นญาติแต่งงานกันเอง ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านยีน
·       ตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจที่จำเป็นสำหรับคุณแม่นั้นส่วนใหญ่จะทำได้ง่ายด้วยการตรวจเลือด ได้แก่ 
o   ตรวจค่า hemoglobin หรือ  ฮีมาโตคริต เพื่อดูว่าเป็นโลหิตจางหรือไม่
o   ตรวจค่า Rh factor ว่าเป็นบวกหรือลบ ถ้าแม่เป็นลบและพ่อเป็นบวกต้องทำการทดสอบเพิ่มเติม ถ้าพ่อและแม่เป็นลบ ไม่มีปัญหาใด 
o   ตรวจไวรัสตับอักเสบ hepatitis B
o   ตรวจวัณโรค (tuberculosis
o   ตรวจ toxoplasmosis titer สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดแมว 
o   ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพราะสามารถกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ 
o   ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น syphilis,  gonorrhea, Chlamydia, herpes, HPV human papillomavirus และโรคเอดส์ HIVหากตรวจพบว่าเป็นโรคหรือมีปัญหาใดๆ ควรแก้ไขก่อนการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้น
·       การทำวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน 
o   ทำวัคซีนบาดทะยัก หากภายใน 10 ปี ที่ผ่านมาคุณแม่ยังไม่ได้ทำวัคซีน ต้องทำทันทีก่อนตั้งครรภ์
o   ทำวัคซีนหัด (measle) และรอประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคก่อนตั้งครรภ์ 
o   ควรทำวัคซีน  hepatitis B
o   ควรทำวัคซีน  human papilloma virus
o   สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หอบหืด โรคหัวใจ ควรพบแพทย์เพื่อควบคุมอาการของโรคดังกล่าวก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่ใช้ยาคุมสามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีที่หยุดยาคุมหรือจะรอจนครบรอบประจำเดือน 1-2 รอบก็ได้ ไม่มีข้อกำหนดหรือข้อห้าม
·       การควบคุมด้านอาหาร 
ก่อนตั้งท้องไม่จำเป็นต้องกินเผื่อลูกในท้องในอนาคต แต่ควรทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญคือ กรดโฟริก เพราะช่วยให้การปฏิสนธิเกิดได้ดีขึ้น และยังช่วยลดความผิดปกติขณะสร้างระบบประสาทของลูกด้วย และช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด กรดโฟลิกพบได้ในธัญพืช และผักใบเขียว หรือจะทานเป็นอาหารเสริมแบบเม็ดก็ได้ งดทานอาหารขยะที่มีไขมันสูง ทานผลไม้นมพร่องมันเนยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
·       การควบคุมน้ำหนัก
น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนอกจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ยากแล้ว ยังเสี่ยงให้เด็กเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์  การควบคุมอาหารที่ให้พลังงานจึงสำคัญก่อนตั้งท้อง ถ้าต้องลดน้ําหนัก ให้ลดน้ำหนักอย่างช้าๆและเหมาะสม แม้ว่าจะต้องเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไปนานขึ้น 1-2 เดือน การลดแป้งและทานโปรตีนมากๆ อาจทำให้ท้องได้ยากและขาดสารอาหาร หากผอมเกินไปจะมีผลต่อการตกไข่ได้ การออกกำลังกายควรให้กล้ามเนื้อแข็งแรงเพียงพอสำหรับการอุ้มท้องและการเบ่งคลอด
·       ตรวจสอบตู้ยา 
ยาบางประเภทไม่ปลอดภัยหากใช้ขณะตั้งครรภ์  อาจทำให้ทารกพิการมีปัญหา หากมีการใช้ยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาให้เหมาะสม ควรงดคาเฟอีน กาแฟ ชา สุรา และบุหรี่